กู้วิกฤติมะพร้าวเกาะเต่าก่อนสูญพันธุ์

อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัจจุบันนั้นมีเกาะเต่า และเก่าพะงัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไทย โดยที่มี มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและมีคุณลักษณะที่เด่นคือ” มะพร้าวใหญ่ ตะโพกโต เนื้อหนา กะลาแข็ง ก้านใหญ่ ทางในยาว เนื้อมะพร้าว2ชั้น น้ำมันใส ในเปลือกเหนียว เนื้อหวานมัน”

โดยอำเภอเกาะพงันนั้นมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวจำนวน 22,00ไร่ เฉพาะแค่เกาะเต่าเองมีพื้นที่ปลูก3,000ไร่ แต่เสียดายที่หลายปีที่ผ่านมาสวนมะพร้าวบน 2 เกาะแห่งนี้ ค่อยๆมีปริมาณลดลงเนื่องจากประสบปัญหารการระบาดของศัตรูพืชมะพร้าว คลอบคลุมในหลายชุมชน หมู่บ้านทำให้ชาวสวนประสบปัญหาความเดือดร้อนกันอย่างถ้วนหน้า

นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 (สวพ.7) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน ถึงปัญหาความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของศัตรูแมลงมะพร้าวจนทำให้สวนมะพร้าวได้รับความเสียหายต้นมะพร้าวล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งสวพ.7 ได้รีบจัดเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช (มะพร้าว)

ทั้งนี้จากการลงพื้นที่พบว่ามีการแพร่ระบาดของศัตรูแมลงมะพร้าว ได้แก่ หนอนหัวตำมะพร้าว ด้วงแรด ด้วงงวงมะพร้าว และแมลงดำหนาม โดยพบการระบาดหนักที่บริเวณบ้านโฉลกบ้านเก่า หมู่ที่3 ตำบลเกาะเต่า โดยเฉพาะด้วงแรดถือว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของเกาะเต่าเป็นสาเหตุที่แรกของการยืนต้นตายของมะพร้าว เนื่องจากเมื่อด้วงแรดเมื่อเจ่าะโคนทางใบมะพร้าวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง

จากนั้นด้วงงวงจะเข้าไปวางไข่ในรอยแผลดังกล่าวเมื่อขาฟักเป็นตัวหนอนก็จะกัดกินเนื้อเยื่อภายในต้น ส่งผลให้ต้นมะพร้าวแสดงอาการยอดเหี่ยว พับและตาย ในที่สุด ผลผลิตยังไม่พอเพียงกับความต้องการของตลาด ยังต้องประสบปัญหาด้านการผลิตในเรื่องของศัตรูพืช 

ดังนั้นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน กลุ่มสวพ.7 ได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้ การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว แก่ชุมชน เพ่อที่จะให้มะพร้าวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อความสมดุลของธรรมชาติ

 

ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนโดย  คาสิโนออนไลน์888